5 CHECK POINTS ตรวจความพร้อมก่อนเริ่ม STARTUP

การออกมาพูดกับตัวเองว่า “ฉันต้องเริ่มทำอะไรบางอย่าง” อาจไม่เพียงพอในธุรกิจ Startup

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาโมเดลธุรกิจที่น่าจับต้องและทำตามคงหนีไม่พ้น Startup เมื่อโมเดลกลายเป็นต้นแบบธุรกิจที่สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ซึ่งสามารถเห็นตัวอย่างจากผู้ประสบความสำเร็จบนถนนเส้นทางนี้ได้มากมาย บทความนับพันนับหมื่นที่ออกมาให้อ่าน ทั้งวิธีการต่าง ๆ ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ ข้อแนะนำต่าง ๆ ที่ควรลีกเลี่ยงหากไม่อยากล้มเหลว กลุ่มสตาร์ทอัพหลายกลุ่มที่สร้างกำไรมหาศาลก็มีออกมาให้ศึกษา มันจึงทำให้สตาร์ทอัพกลายเป็นถนนอีกเส้นทางหนึ่งที่ผู้คนอยากจะริเริ่ม เพราะเห็นตัวอย่างมามากมาย พร้อมที่จะเอาล้อของตัวเองลงไปหมุนบนทางถนน ร่วมกับคนอื่นในสายงานธุรกิจสตาร์ทอัพนี้บ้าง

Startup เป็นมากกว่าธุรกิจ แน่นอนว่ามันไม่ใช่แค่การเอาอะไรสองสามอย่างนำไปหว่านลงบนดิน แล้วงอกออกมาเป็นโมเดลธุรกิจอย่างสตาร์ทอัพ และออกดอกออกผลที่ชื่อว่า “ความสำเร็จ” ขึ้นมา ส่วนนี้มันเป็นเรื่องของอนาคต แต่ความเจ๋งของสตาร์ทอัพมันคือการออกมาเริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ ต่างหากที่ทำให้คงความน่าสนใจ และทำให้การแข่งขันธุรกิจนี้ยังคงติดเทรนด์ระดับโลก

ในเมื่อ Startup ให้โอกาสกับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น และรอการได้รับพัฒนา แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำมือใหมรู้ว่า พวกเขาพร้อมที่จะลุยในโลกธุรกิจ Startup นี้แล้วจริง ๆ

1. มีไอเดียสร้างสรรค์ (Idea)

หากคุณอยากเริ่มทำอะไรสักอย่างแต่กลับปราศจากความสร้างสรรค์ นั่นเป็นไปไม่ได้เลยที่จะลงมือทำ เพราะความตั้งใจที่อยากจะทำอย่างเดียวมันไม่พอ แนวคิดก่อนการริเริ่มจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อประสิทธิภาพของธุรกิจในอานาคต

พร้อมสามารถต่อยอดวิธีการเพิ่มเติม และสร้างทางเลือกใหม่ ๆ ในโมเดลธุรกิจนี้ การแค่ลงมือทำโดยไร้แนวคิดไอเดียควบคู่ไปด้วย มันก็จะกลายเป็นแค่เริ่มต้นและจบไป



2. มีผลิตภัณฑ์ (Product)

ผลิตภัณฑ์บางสิ่งบางอย่างที่คุณอยากนำเสนอ อย่างน้อยควรนำมาวิเคราะห์ เพื่อให้รู้จักจุดเด่นจุดด้อยของมันก่อน ทุก ๆ ธุรกิจต้องการใช้เวลาโดยเฉพาะธุรกิจสตาร์ทอัพที่ต้องควบคู่ไปกับการพัฒนา

และเมื่อเกิดคำว่าพัฒนามันจึงจำเป็นจะต้องมีการแก้ไข ลดทอน หรือต่อยอด เป็นเหตุเป็นผลที่เราควรมีผลิตภัณฑ์ก่อนเริ่มทำธุรกิจ Startup อาจจะเป็นผลิตภัณฑ์ทดลอง หรือผลิตภัณฑ์ตัวอย่างก็สามารทำได้ทั้งนั้น

3. มีเวลาจัดการ (Time to Manage)

คุณต้องมีเวลาในการจัดการธุรกิจนี้ ขึ้นชื่อว่า Startup คงไม่ได้หมายถึงการสร้างมาเพื่อขายและรับต่อเพียงเท่านั้น แต่กลับกันไอเดียและผลิตภัณฑ์ของคุณควรจะได้รับการต่อยอด ซึ่งนี่คือแนวคิดของสตาร์ทอัพ

ดังนั้นคุณควรจะมีเวลาในการสำรวจ วิเคราะห์ พัฒนาเพื่อการก้าวกระโดดในอนาคตของธุรกิจ พูดให้ง่ายก็คือ ธุรกิจสตาร์ทอัพคือโมเดลธุรกิจที่ต้องใช้เวลาดูแล




4. ไม่กลัวความผิดพลาด (Failure)

คนเราไม่สามารถจัดการกับสิ่งที่ไม่ได้ต้องการให้เกิดขึ้นได้ทุกครั้งไป แน่นอนว่าทุกการเคลื่อนไหวในธุรกิจย่อมมีความเสี่ยง บางครั้งอาจไม่ประสบความสำเร็จเหมือนที่ตั้งเป้าหมาย แต่ความล้มเหลวที่ได้มาก็ไม่ควรคิดว่าเป็นสิ่งไม่ไดี เพราะการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดได้ทุกเวลา แต่หนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดคือ หากเจอปัญหาจากความผิดพลาด ควรนำมาเรียนรู้เป็นประสบการณ์และเลือกที่จะก้าวไปข้างหน้าแทน

5. มีความชอบ (Passion)

ความชอบความหลงใหลคือสิ่งที่คุณต้องมีในการดำเนินธุรกิจ ขึ้นชื่อว่าธุรกิจ Startup ย่อมมีคนล้มเหลวมากกว่าคนที่ประสบความสำเร็จ ตลอดทางอาจมีอุปสรรคและปัญหาในหลาย ๆ เรื่อง อาจทำให้เกิดความท้อ

ดังนั้นการมีความความชอบในสิ่งที่ทำอยู่ จึงอาจสร้างความมุ่งมั่น และแรงจูงใจบางอย่างที่ทำให้เราสามารถอยู่ในเส้นทางต่อไปได้