ไซมอน หุ่นยนต์ AI ผู้ช่วยนักบินอวกาศตัวแรกของโลก

หลายคนคงเคยได้ยิน IBM Watson หรือ ปัญญาประดิษฐ์ IBM คือบริษัทผลิตหุ่นยนต์ที่ปรับใช้ทั่วโลกนั่นเอง ซึ่งในไทยก็มีใช้ในอุตสาหกรรมการแพทย์ โดย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ นำมาใช้ วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้เร็วขึ้น ล่าสุด AI ตัวนี้จะออกสู่อวกาศเป็นผู้ช่วยนักบินบนยานอวกาศแล้ว

หากใครยังไม่รู้จัก IBM Watson ระบบ Cognitive Computing แห่งยุคข้อมูลจำนวนมหาศาล

เมื่อสองเดือนที่ผ่านมา นักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของไอบีเอ็ม ได้สร้างหุ่นยนต์ AI มาเพื่อช่วยทีมนักบินอวกาศบริหารพื้นที่ DLR หน้าที่หลัก ๆ ของไซมอนคือช่วยเหลือนักบิน โดย Manfred Jumann หัวหน้าแผนก Miccrogravity Payloads มีภารกิจหลัก ๆ ในการปฏิบัติงานคือ อธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานต่าง ๆ และมีความสามารถในการเรียนรู้ นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ด้วยใบหน้าเสียงเป็นตัวควบคม ด้วยการใช้ใบหน้าเป็นตัวควบคุมเสียง ไซมอนยังสามารทำให้กิจวัตรประจำวันของนักบินอวกาศมีประสิทธิภาพและช่วยให้ภารกิจประสบความสำเร็จและความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ทาง mindDoJo คิดว่า เรื่องนี้เราควรต้องรู้และเป็นสิ่งที่หน้าสนใจ เพราะที่ผ่านมายังไม่เคยมีหุ่นยนต์ระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ตัวใหน ถูกส่งขึ้นไปเป็นผู้ช่วยของนักบินอวกาศมาก่อน ดังนั้นวันนี้ เราจะพาคุณไปทำความรุ้จักกับ ไซมอน หุ้นยนต์ AI ผู้ช่วยนักบินอวกาศกันครับ

ไซมอนเป็นระบบอัจฉริยะที่พบพาได้สะดวก มีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม ตัวเครื่องมีรูปทรงกลม เป็นผู้ช่วยนักบินอวกาศสู่สถานีอวกาศนานาชาติ ( ISS ) เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้บังคับสถานีอวกาศในช่วงที่สองของการปฏิบัติการระยะเวลา 6 เดือน โดยไซมอนได้รับการพัฒนาโดยแอร์บัสในนามของศูนย์อวกาศยานเยอรมัน และจะได้รับการทดสอบบนสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้ภารกิจ “ฮอไรซันส์” ขององค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency)

ปัจจุบันไซมอนยังสามารถระบุสภาพแวดล้อมของตนและสามารถระบุคู่สนทนาที่เป็นคนที่กำลังมีปฏิสัมพันธ์กับเขาได้โดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์(AI) ช่วยให้ไซมอนสามารถประมวลผลข้อความ คำพูด และรูปภาพรวมถึงช่วยดึงข้อมูลและการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้อีกด้วย ทักษะเหล่านี้ได้รับการพัฒนาขึ้นบนหลักการของการทำความเข้าใจ การให้เหตุผล การแก้ไขปัญหา และการเรียนรู้

นอกจากนี้ไซมอนยังอาศัยความสามารถในการจำแนกแยกแยะภาพ เพื่อเรียนรู้ผังโครงสร้างของโมดูลโคลัมบัสบนสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งทำให้ไซมอนสามารถเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ได้อย่างไร้ปัญหา ไซมอนยังได้เรียนรู้ขั้นตอนดำเนินการทั้งหมดเพื่อให้สามารถช่วยทำการทดลองต่าง ๆ บนยานอวกาศได้อีกด้วย โดยบางครั้งการทดลองอาจประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ มากกว่า 100 ขั้นตอนที่แตกต่างกัน ซึ่งไซมอนรู้จักขั้นตอนเหล่านั้นทั้งหมด

อย่างไรก็ตามไซมอนยังสามารถเข้าถึงความรู้สึก และเข้าใจในการทำงานของนักบินอวกาศทุกคน และยังสามารถทำให้นักบินมีความสุขในการทำงาน เพราะด้วยหน้าจอหรือรูปลักษณ์ของไซมอน ที่มีสีหน้าที่ยิ้มแย้มตลอดเวลาทำให้นักบินมีความสุขและเข้ามาช่วยให้พวกเขาสนุกสนานไปกับการทำงานมากขึ้น

แหล่งที่มา : Airbus , Video Youtube