สร้างกลยุทธหาคู่โดยใช้ DATA

สร้างกลยุทธหาคู่โดยใช้ data

อีกหนึ่งตัวอย่างของการใช้ big data เพื่อเข้าใจลูกค้าในโลกของความจริง เป็นสิ่งที่น่าสงสัยมาตลอดว่า ทำไมคนที่เป็นคู่กันมักมีลักษณะคล้ายกัน เช่น อายุ การศึกษา ความคิด หรือแม้แต่ความน่าดึงดูด (attractiveness)

ซึ่งมี 2 สมมติฐานที่พยายามอธิบายว่าทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้น

สมมติฐานแรก คือ matching hypotheses เชื่อว่าแต่คนละคนรู้ว่าตัวเองเป็นที่ต้องการ (desirability) ขนาดไหน และจะเลือกจีบคนที่มีความน่าต้องการในระดับเดียวกัน

แต่สมมุติฐานที่สอง คือ competition hypotheses เชื่อว่า ทุกคนแข่งขันจีบคนที่มีความน่าต้องการมากที่สุด ผลที่ออกมาคือ คนที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดก็จะจับคู่กันเอง และคนที่เป็นที่ต้องการรองลงมาก็จะจับคู่กันเอง ลงมาเรื่อย ๆ เป็นการจับคู่ตามรูปลักษณ์หน้าตา

นักวิจัยของสองสมมติฐานนี้ ได้ถกเถียงกันมาเป็นเวลานานแต่หาข้อสรุปไม่ได้ เพราะการวิจัยเพื่อหาคำตอบนี้ทำได้ยากมาก และต้องใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่มากพอสมควร

แต่ล่าสุดนักวิจัยชื่อ Elizabeth Bruch และ Mark Newman จาก University of Michigan ได้ดึงและวิเคราะห์ข้อมูลจากเว็บหาคู่ชื่อดังเจ้าหนึ่งเพื่อหาคำตอบ

Elizabeth Bruch และ Mark Newman ใช้จำนวน message ที่ส่งมาเพื่อทำความรู้จักกันเป็นตัวชี้วัด desirability ยิ่งได้ message เยอะเท่าไหร่นั่นหมายความว่า เขาหรือเธอคนนั้นยิ่งเป็นที่หมายปองมากเท่านั้น

นักวิจัยยังเก็บข้อมูลอีกด้วยว่า message นั้นถูกส่งมาจากคนที่มีคะแนน desirability สูงขนาดไหน ถ้าถูกส่งมาจากคนที่มี desirability สูง คะแนน desirability ของคนรับ message ก็จะสูงตามไปด้วย (เป็นแนวคิดเดียวกับที่ Google ใช้เขียน algorithm ของ search engine)

ซึ่งข้อมูลที่ได้ออกมานั้นน่าสนใจมากมาดูกันเลย

  1. เป็น norm ที่ทั้งผู้หญิงและผู้ชายมักจะเลือกจีบคนที่มี desirability สูงกว่าตัวเองโดยเฉลี่ย 25%

แต่โอกาสที่ผู้ส่งจะได้รับ message ตอบกลับจากอีกฝ่ายขึ้นอยู่กับความห่างของคะแนน desirability ยิ่งคะแนนห่างกันมาก โอกาสที่จะได้รับการตอบรับจะยิ่งน้อยลง คนที่ desirability ต่ำมักส่ง message ขอทำความรู้จักกับคนที่มีคะแนนต่ำเช่นกัน ซึ่งเป็นจำนวนเยอะกว่าที่ส่งไปให้คนมีคะแนน desirability สูงกว่า (เป็นการเน้นจำนวน)

แต่คนที่มี desirability ที่ต่ำกว่า จะมีความตั้งใจสูงในการเขียนข้อความใน message เพื่อส่งไปให้คนที่มี desirability สูงกว่า (เป็นการเน้นคุณภาพ)




  1. ผู้หญิงเขียนคำชมมากกว่าผู้ชายใน message เพื่อขอทำความรู้จัก

แต่ในทางกลับกัน ยิ่งผู้ชายใช้คำชมมากใน message เพื่อขอทำความรู้จัก โอกาสที่จะได้รับตอบกลับจะยิ่งลดลง นั่นหมายความว่า ความตั้งใจในการเขียนข้อความแทบจะไม่มีผลอะไรเลยต่อโอกาศในการได้รับการตอบรับ

การเลือกใช้คำที่มีความหมายเชิงบวก คำชมหรือคำชื่นชม ไม่มีผลต่อการตอบรับเรื่องการหาคู่สักเท่าไหร่



  1. จากการวิเคราะห์ data ครั้งนี้พบว่า คนใช้วิธีจากทั้งสองสมมติฐานร่วมกัน

คนส่วนใหญ่รู้ว่าตัวเองมี desirability อยู่ในระดับไหน และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการหาคู่เพื่อให้สอดคล้องกับระดับนั้น แต่ในขณะเดียวกันอาจมีการแข่งขันกันบ้าง เพื่อคนที่หมายปอง

สิ่งที่ควรทำในข้อนี้คือ ใช้วิธีประเมินตัวเองว่าอยู่ในระดับไหน และจีบคนที่อยู่ในระดับเดียวกัน เพราะโอกาสที่เราจะได้รับการตอบรับจากคนที่มี desirability สูงกว่าเรานั้นต่ำ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเลย

นักวิจัยแนะนำว่ากลยุทธที่ดีที่สุด คือ ต้องกล้าส่ง message ไปให้คนที่มี desirability สูงกว่าเราเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า จากที่เราเคยทำมา เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับตัวเอง และอย่าเพิ่งตั้งความหวังว่า จะได้รับการตอบรับข้อความมาในทันที เพราะบางครั้งข้อความนั้นอาจจะใช้เวลาในการตอบรับนานสักหน่อย



และทั้งหมดนี้คือตัวอย่างในการใช้ BiG DATA customer insight



หากท่านไหนลองกลยุทธนี้แล้วได้ผลอย่างไร มาแชร์ประสบการณ์กับเราได้นะครับ



แหล่งอ้างอิง : https://bit.ly/2EaWmzP